เบอร์ 8 | เบอร์ 9 | เบอร์ 10 | เบอร์ 11 | เบอร์ 12 | เบอร์ 13 | เบอร์ 14 |
4.0 มม. | 3.6 มม. | 3.2 มม. | 3.0 มม. | 2.6 มม. | 2.3 มม. | 2.0 มม. |
– | – | – | – | 5/8′′ | 1/2′′ | 1/2′′ |
– | – | 3/4′′ | 3/4′′ | 3/4′′ | 5/8′′ | 5/8′′ |
– | – | 1′′ | 1′′ | 1′′ | 1′′ | 1′′ |
– | – | 1 1/4′′ | 1 1/4′′ | – | 1 1/4′′ | 1 1/4′′ |
1 1/2′′ | 1 1/2′′ | 1 1/2′′ | 1 1/2′′ | 1 1/2′′ | 1 5/8′′ | 1 5/8′′ |
2′′ | 2′′ | 2′′ | 2′′ | 2′′ | 2′′ | – |
– | – | – | 2 1/2′′ | – | – | – |
3′′ | 3′′ | 3′′ | 3′′ | – | – | – |
ตะแกรงเหล็กฉีก(Expanded Metal) : คือแผ่นเหล็ก ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ดึงลายตามดีไซน์ โยงยึดเป็นรูตาข่ายไปตลอดแผ่น เหมือนนำเหล็กมาแกะลายเหล็กทั้งแผ่นจึงเป็นเหล็กเนื้อเดียวกันที่มีลายเหล็ก ตาข่ายเหล็ก และช่องรูเท่ากัน โปร่งตา ระบายความร้อน และถ่ายเทอากาศได้ดี แข็งแรง ทนทาน ตลอดแผ่นสามารถนำมาใช้ในงานได้หลากหลาย และกำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในปัจจุบัน เนื่องจากมีความคงทนแข็งแรง ราคาถูก และใช้งานได้สารพัดประโยชน์ อาทิเช่น ปูทางเดิน ปูพื้นถนนให้รถวิ่ง ตะแกรงระบายน้ำ ตะแกรงกันนก ทำราวกันตก ทำพื้นลอยที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ทำรั้ว หรือตกแต่งบ้าน อาคารสำนักงาน และโรงงานทั่วไป ฯลฯ
ข้อแนะนำในการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีก หรือตาข่ายเหล็ก
1. ลายของตะแกรงเหล็กฉีกควรเอียงไปในทิศทางเดียวกัน
2. ด้านปลายหรือด้านริมสุดของแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกแผ่นสุดท้ายที่วางเป็นพื้นทางเดินทั้งสองด้าน ควรต้องวางอยู่บนโครงสร้างถาวรเพื่อความแข็งแรง
3. การต่อแผ่นตะแกรงสามารถทำได้ 2 ลักษณะ และผู้ติดตั้งสามารถวางเหล็กฉากหรือเหล็กไอบีมรองรับแผ่นตะแกรงตรงจุดต่อของแผ่น
ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัย และแข็งแรงมากสุด
4. ด้วยลักษณะของแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ดังนั้นในงานพื้นทางเดินบริเวณที่มีท่อตั้งอยู่ ผู้ติดตั้งสามารถตัดแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกให้
โค้งงอได้ตามรูปกลมของท่อโดยใช้เหล็กแบนทำการปิดขอบระหว่างท่อและพื้นทางเดินบริเวณนั้น เพื่อให้เกิดความสวยงามมากขึ้น
5. การเชื่อมแผ่นตะแกรง หรือตาข่ายเหล็ก เข้ากับเหล็กโครงสร้าง ควรจะเว้นการเชื่อมห่างกันมากสุดไม่เกิน 4 รูตะแกรง และเพื่อเสริมความ
ปลอดภัยต่อผู้ใช้มากขึ้น ควรเชื่อมรูตะแกรงทุกจุดการติดตั้งนอกจากวิธีการเชื่อม สามารถจะใช้น็อตยึดตะแกรงกับเหล็กโครงสร้างก็ได้
ตะแกรง wire mesh, เหล็ก wire mesh, เหล็กตะแกรง wire mesh ขนาดเหล็ก wire mesh
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช Wire Mesh เหมาะสำหรับงาน
- ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถ
- พื้นบนดิน พื้นบนคาน พื้นสำเร็จรูป
- ปูก่อนเทคอนกรีตทับหน้า แผ่นสำเร็จรูป
- พื้นสำหรับงาน Post Tension
- งานหลังคา Galvanized Wire Mesh
- ผนังรับแรง กำแพงกันดิน ท่อคอนกรีต
- พื้น ผนังสำเร็จรูป (Precast Concrete)
ทำไมต้องเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวเมช
- สามารถตัดขึ้นรูปได้ง่าย เพื่อใช้ในการก่อสร้างเฉพาะอย่าง
- เหล็กWire Meshประหยัดมากกว่าเหล็กธรรมดา เนื่องจากมี Yield Strength สูงกว่าสองเท่า
- เหล็กไวเมทประหยัดเวลา แรงงาน ได้กว่า 80% ลดต้นทุนผู้ใช้เนื่องจากไม่ต้องเสียเศษเหล็ก
- เหล็กไวเมช รวดเร็วทั้งการขนส่ง เคลื่อนย้าย จัดวาง เวลาไม่สูญเสียไปกับการผูกเหล็ก
- เหล็กวายเมช คุณภาพสม่ำเสมอ จุดเชื่อมต่ออาร์คด้วยไฟฟ้าหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของจุดตัดของ ลวดยืน และขวางเท่ากันทุกจุด ขนาดหน้ากว้างและความยาวแผงสั่งได้ตามความต้องการใช้งาน
ขนาดของตะแกรงไวเมช | |||
---|---|---|---|
ชนิด | ขนาดของลวด | กว้าง | ยาว |
แบบแผง | 4.0 – 12.0 มม. | ไม่เกิน 3.50 เมตร | ไม่เกิน 10 เมตร |
แบบม้วน | 4.0 มม. | ไม่เกิน 3.50 เมตร | ไม่เกิน 50 เมตร |
5.0 – 6.0 มม. | ไม่เกิน 3.50 เมตร | ไม่เกิน 25 เมตร |
โรงงานผลิตไวร์เมช, โรงงานไวร์เมช
ตะแกรงเหล็ก Wire Mesh ตะแกรงเหล็ก Wire Mesh ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ดังนี้คือ
1. มอก.737 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต
2. มอก.747 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
3. มอก.943 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต คุณสมบัติของเหล็กรีดเย็น และมาตรฐานการผลิต
1. Min. Tensile Strength (กำลังดึงประลัย) ft 6230 ksc.
2. Min. Yield Strength (กำลังคลากต่ำสุด) fy 5500 ksc.
3. Min. Working Strength(แรงดึงปลอดภัย) fs 2750 ksc
เหล็กไวเมทเทพื้น, เหล็กปูพื้นวายเมท
เหล็กไวร์เมช คืออะไร หรือตะแกรงไวร์เมช wiremesh เหล็กไวร์เมชคือเหล็กเส้น เหล็กเส้นกลมหรือเหล็กเส้นข้ออ้อย ที่นำมาเชื่อมติดกันเป็นตารางเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ใช้ปูพื้นก่อนเทคอนกรีต เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงคอนกรีตนิยมใช้ปูพื้นที่ต้องการรับแรงหรือน้ำหนักมากๆ เช่น พื้นถนน ลานจอดรถ โรงรถ และไวเมชอีกชนิด คือเอามาเป็นที่รองแผ่นฉนวนกันความร้อนบนหลังคาหรือฝ้าเพดาน
สำหรับไวร์เมชเพื่อรองรับน้ำหนักคอนกรีต ความสามารถของการรับแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลวด ซึ่งมีตั้งแต่ลวด 4 มม 6 มม และระยะห่างของช่องว่างหรือที่นิยมเรียกว่า @ ซึ่งมีตั้งแต่ @15*15 @20*20 ซึ่งการเลือกใช้งานนั้นจะอยู่ในดุลยพินิจของช่าง ด้วยเหตุที่ว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้นผลิตได้ตามความต้องการของการใช้งาน ขนส่งสะดวกและใช้งานง่าย จึ้งได้รับความนิยม มาจนถึงปัจจุบัน
ตะแกรงไวร์เมชนั้นมีการใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ
1.ตะแกรงเหล็กไวร์เมช สำหรับงานเทพื้นคอนกรีตเพื่อรับแรงหรือน้ำหนัก เหล็กตะแกรงไวร์เมชชนิดนี้มีการใช้งานทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย ลักษณะการใช้งานคือรองก่อนทำการเทพื้นคอนกรีต เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักและเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้นคอนกรีต
2 ตะแกรงกัลวาไนซ์ไวร์เมช (Galvanize wire mesh) ตะแกรงชนิดนี้ทำมาเพื่อปูบนเพดานเพื่อวางแผ่นฉนวนกันความร้อนต่างจากตะแกรงไวร์เมชชนิดแรกไวร์เมชชนิดนี้จะชุบกัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิมทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ตะแกรงไวร์เมชที่เอาไว้ปูบนพื้นเพดานนิยมเรียกว่ากัลวาไนซ์ไวร์เมช
ในการเลือกใช้งานตะแกรงไวร์เมชนั้น ช่างต้อง ทราบขนาดพื้นที่ของหน้างานก่อน แล้วจึงสั่งตะแกรงไวร์เมช นั้นตามพื้นที่ของหน้างาน และประเภทงานเช่น ถ้าพื้นที่เป็นพื้นถนนที่ต้องรับแรงหรือน้ำหนักมากๆ ก็ควรเลือกเลือกใช้งานตะแกรงไวร์เมชที่มีเส้นลวดขนาดใหญ่ และระยะห่างถี่ มากขึ้น เพราะขนาดลวดที่ใหญ่ และระยะห่างถี่ๆ จะให้เหล็กรับน้ำหนักและทนทานมากขึ้น
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช, ขนาดตะแกรงเหล็กไวร์เมช ราคาตะแกรงไวเมท, ตะแกรงวายเมทเหล็ก, ตะแกรงวายเมทเหล็ก, ตะแกรงไวร์เมช, ตะแกรงไวร์เมช
เหตุผลที่ควรเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช ใช้งานง่ายกว่าการผูกเหล็กแบบก่อน ขนส่งง่ายเพราะทำเป็นแผ่นหรือแบบม้วนแบบมาตรฐาน ประหยัดเงินเพราะสั่งขนาดได้ตามต้องการประหยัดเวลาไม่ต้องไปผูกเหล็กแบบเดิม นับจำนวนได้แน่นอนเพราะผลิตเป็นแผ่นหรือม้วนที่แน่นอน ได้มาตรฐานเท่ากันทุกแผ่นแน่นอนประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเทพื้นคอนกรีตพื้นลานจอดรถ โรงงาน สั่งผลิตได้ตามพื้นที่และขนาดที่ต้องการใช้งาน รับแรงได้มากกว่าเหล็กปกติทั่วไป งานเสร็จทันเวลาอายุการใช้งานยาวนาน
แผ่นไวเมทเหล็ก, ตะแกรงไวเมท, ขนาดเหล็กวายเมท
ตะแกรงเหล็กวายเมท, ตาข่ายไวร์เมช, เหล็กตะแกรงไวร์เมชราคา, ราคาตะแกรงเหล็กวายเมท