คอนเนคเตอร์เหลี่ยม

ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
 
 
บริษัท เรืองรุ่งโรจน์ ซัพพลาย จำกัด  นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นเพื่อการบริการสำหรับกลุ่มงานติดตั้งระบบไฟฟ้า หรือสินค้าเพื่อบริการแก่โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ให้บริการครอบคลุมงานไฟฟ้าอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าก่อนเสมอ สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้งานได้อย่างถูกต้อง 
 
ช่องทางการติดต่อและขอใบเสนอราคา 
 
Tel : 092-298-8468
 
Tel : 081-131-8468
 
Hotline: 098-523-8468
 
LINE ID : @rrr-supply
 
Email: sales1.rrr@gmail.com
 
Email: ruangrungrot.supply@gmail.com 
 
 
 
 

SMICO Heavy Duty Connector หรือที่เรียกว่า Multipole connector

ขั้วต่อไฟฟฟ้าแบบเหลี่ยม เป็นคอนเนคเตอร์ที่มีจำนวนขั้วต่อหลายขั้ว ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ขั้วต่องานหนัก สำหรับไฟฟ้าอุตสาหกรรม  ระบบเชื่อมสัญญาณ ออกแบบมาให้สามารถใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ มีความทนทานต่อการใช้งานได้อย่างดี เช่น การสั่นสะเทือน การกันน้ำ แข็งแรง กันกระแทก

Industrial Multipole Connectors, Multi-pole Connector, Multipin Connector, Connectors, Power Connector, signal connection system มีขนาด 10A, 16A,35A, 80A, จำนวนขั้ว 3Pole, 4Pole, 6Pole, 10Pole, 16Pole, 24Pole, 32Pole, 48Pole, 64Pole, 128Pole 

 

 

 

Multi pole Connector เป็น Connector ที่มีจำนวนหลายขั้วซึ่งถูกออกแบบมาใช้กับงานอุตสาหกรรม ทนทานต่อการใช้งานที่สมบุกสมบัน เช่น การสั่นสะเทือนหรือกันน้ำ โดย Connector ประกอบด้วยฝั่งตัวผู้และตัวเมีย มีทั้งแบบที่มีตัวผู้ยึดติดกับตู้และนำตัวเมียพร้อมสายไฟ มาเสียบและแบบลอยคือเมื่อจะใช้งานต้องนำทั้งตัวผู้และตัวเมียมาเสียบเข้าด้วยกัน

 

 

 

 

การเลือกใช้งาน Multi pole Connector

 เราควรรู้ลักษณะงานเบื้องต้นเพื่อจะได้สรุปจำนวน Pole ที่จะใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมทีเดียวไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งเพิ่มในการเลือกใช้งานมีรายละเอียดที่สำคัญต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้  

จำนวนขั้วต่อ (Pole) ส่วนใหญ่จะเป็นเลขคู่บวก เช่น 6 10 16 และ 24 เป็นต้นและบวกด้วย Ground กรณีรุ่นที่ถูกออกแบบให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ในตัวเดียวกันจะระบุเป็น 4/8 6/12 และ 8/24 เป็นต้น

 

 

ขนาดแรงดันไฟ เช่น แรงดันสำหรับ Power จะมีหลายขนาดทั้ง 230V,400V และ 690V และสำหรับ Control มีตั้งแต่ 230V, 250V และ 400V

 

 

กระแสใช้งาน เช่น contact สำหรับ Power 40A หรือ 80A และ Contact สำหรับ Control 10A ขนาดของสายที่ใช้มี Range เช่น สำหรับ Power 0.14-16 mm² และสำหรับ Control 0.14-2.5 mm²

 

 

 

การเข้าสายของคอนเนคเตอร์เหลี่ยม

 

การเข้าสายของ Heavy Duty Connector มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและประเภทของการเชื่อมต่อที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่แล้ว Heavy Duty Connectors จะมีการออกแบบที่ทนทานและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ต้องการการเชื่อมต่อที่มั่นคงและปลอดภัย ในการเข้าสายจะมีหลักๆ อยู่ 3 ประเภทที่พบบ่อย 

คือ Screw Terminal, Spring Terminal, Crimp Terminal

 

 

1. Screw Terminal

  • ลักษณะ: ใช้สกรูในการยึดสายไฟเข้ากับขั้วเชื่อมต่อของคอนเนคเตอร์
  • วิธีการ:

    • ลอกฉนวนสายไฟออก
    • เสียบสายไฟเข้าไปในช่องรับของคอนเนคเตอร์
    • ใช้ไขควงขันสกรูเพื่อยึดสายไฟให้แน่น
  • ข้อดี: การเข้าสายด้วยสกรูมีความมั่นคงสูง สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการสั่นสะเทือนหรือแรงดันสูง
  • ข้อเสีย: ใช้เวลานานกว่าการเชื่อมต่อประเภทอื่นๆ

2. Spring Terminal

  • ลักษณะ: ใช้ระบบสปริงล็อคในการยึดสายไฟ โดยที่ไม่ต้องใช้สกรู
  • วิธีการ:
    • เสียบสายไฟลงไปในช่อง
    • ปล่อยให้สปริงล็อคยึดสายไฟให้อยู่ในตำแหน่ง
  • ข้อดี: ง่ายและเร็วในการติดตั้ง เนื่องจากไม่ต้องใช้สกรู และมีความปลอดภัยในการยึดสายไฟ
  • ข้อเสีย: อาจไม่ทนทานเท่าการยึดด้วยสกรูในบางกรณี และไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าสูงมาก

3. Crimp Terminal

  • ลักษณะ: ใช้การบีบหรือบัดกรีเพื่อยึดสายไฟเข้ากับคอนเนคเตอร์
  • วิธีการ:
    • ใช้เครื่องมือบีบหรือคีมบีบเพื่อยึดสายไฟที่ปลายเข้ากับขั้วของคอนเนคเตอร์
    • บางครั้งอาจมีการใช้ลวดเย็นหรือบัดกรีเพื่อเชื่อมต่อให้มั่นคง
  • ข้อดี: การบีบหรือบัดกรีช่วยให้การเชื่อมต่อมีความทนทานและทนต่อการใช้งานที่มีแรงดันหรือกระแสสูง
  • ข้อเสีย: ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการบีบ และไม่สามารถเปลี่ยนสายได้ง่ายๆ หากจำเป็นต้องบำรุงรักษา

การเลือกประเภทของ Heavy Duty Connector ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานและลักษณะของงานที่ทำ หากงานที่ทำมีการใช้งานที่ต้องการความมั่นคงสูงและมีการสั่นสะเทือนมาก การเลือกใช้ Screw Terminal หรือ Crimp Terminal จะเหมาะสมที่สุด แต่หากต้องการการติดตั้งที่รวดเร็วและสะดวกการเข้าสายแบบ Spring clamp Terminal จะเหมาะสมที่สุดเพราะง่ายและเร็วในการติดตั้ง เนื่องจากไม่ต้องใช้สกรู และมีความปลอดภัยในการยึดสายไฟ

คอนเนคเตอร์เหลี่ยมใช้กับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท

คอนเนคเตอร์เหลี่ยม (Heavy duty connector) ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการการเชื่อมต่อที่มีความทนทานสูงและสามารถทนต่อสภาวะการทำงานที่รุนแรงได้ โดยส่วนใหญ่จะพบในอุตสาหกรรมดังนี้

  • ระบบอัตโนมัติ (Automation)
  • อุตสาหกรรมระบบรางรถไฟ (Railway)
  • ระบบสนามบิน  (Airport)
  • อุตสาหกรรมพลังงาน  (Energy)
  • อุตสาหกรรมการขนส่ง  (Transport)
  • อุตสหกรรมกลางแจ้ง  (Outdoor)
  • ระบบลิฟท์  (Escalator)
  • อุตสาหกรรมพลาสติก (Plastic)
  • ระบบแสงและเสียง (Light & Sound)
  • หุ่นยนต์อุตสาหกรรม  (Robots)
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรม (Machinery)

 

 

ผลงานของเรา

ผลงาน 1 :  เครื่องเทสระบบเครื่องจักรโรงงาน (Box Test)

ผลงาน 2 :  ระบบออโตเมชั่นในไลน์ผลิต.Automation

 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Hotline: 098-523-8468

 

บริษัท เรืองรุ่งโรจน์ ซัพพลาย จำกัด

ที่อยู่ : โครงการ CK FACTORY เฟส 1

เลขที่ 1/110 ซอยเพชรเกษม 122 

ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน

จังหวัดสมุทรสาคร 74130


Tel : 092-298-8468, 081-131-8468  

Hotline: 098-523-8468

Email: sales1.rrr@gmail.com

Email: ruangrungrot.supply@gmail.com  

—---------------------------------

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆได้ที่นี่

www.facebook.com/Ruangrungrot

www.facebook.com/connectorcenter

www.facebook.com/smicothai

—----------------------------------

อัพเดทสินค้าใหม่ๆทุกเดือนได้ที่นี่

https://www.ruangrungrot.com/

https://connector-center.com/ 

https://www.smico-thai.com/

https://incconnector.com/

www.คอนเนคเตอร์เหลี่ยม.com

 








นำเข้าและจัดจำหน่าย สินค้าดังต่อไปนี้ INC Connector, INB Connector, Circular connector, Military connector, MIL-C 5015 connector, Servo motor connector, Robot connector Connectec connector, Eletronics connector, mini connector,waterproof connector, M8, M12 sensor connector, คอนเน็คเตอร์สำหรับงาน เซอร์โวมอเตอร์ คอนเนคเตอร์กลม,แขนกล, บอร์ดอิเล็คทรอนิคส์, งานอุปกรณ์ทหาร, คอนเนคเตอร์อิเล็คทรอนิกส์, ระบบสื่อสารและอื่นๆตามแต่จะใช้งาน
 
มีให้เลือกมากมาย SMICO Industrial Multipole Connectors, Heavy Duty Connector, Multipole connectors, Multi-pole Connector, Multipin Connector, Connectors, Power Connector, Industrial Multipole Connectors, Multipole connectors ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ขั้วต่องานหนัก สำหรับไฟฟ้าอุตสาหกรรม คอนเนคเตอร์กลม,เครื่องจักร ระบบเชื่อมสัญญาณ มีขนาด 10A, 16A,35A, 80A, จำนวนขั้ว 3Pole, 4Pole, 6Pole, 10Pole, 16Pole, 24Pole, 32Pole, 48Pole, 64Pole, 128Pole มีให้เลือกมากมาย ตามมาตรฐานโลก
 
Multi pole Connector หรือ Heavy Duty Connector (คอนเนคเตอร์เหลี่ยม) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในลักษณะงานเครื่องจักรอยู่กับที่ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือจะเป็นผู้สร้างเครื่อง ผู้รับเหมาที่ต้องออกแบบนำเครื่องจักรเคลื่อนย้ายไปทำการติดตั้งที่หน้างานต่างๆ มาดูกันว่ามันใช้งานอย่างไร

 

Industrial Multipole Connector คืออะไร Industrial Multipole Connector เป็น Connector ที่มีจำนวนหลายขั้ว ซึ่งถูกออกแบบมาใช้กับงานอุตสาหกรรม ทนทานต่อการใช้งานที่สมบุกสมบั่น เช่น การสั่นสะเทือนหรือกันน้ำ โดย Connector ประกอบด้วยฝั่งตัวผู้และตัวเมียมีทั้งแบบที่มีตัวผู้ยึดติดกับตู้และนำตัวเมียพร้อมสายไฟมาเสียบ และแบบลอย คือเมื่อจะใช้งานต้องนำทั้งตัวผู้และตัวเมียมาเสียบเข้าด้วยกัน
 
มีใช้ในอุสาหกรรมประเภทไหนบ้าง Industrial Multipole Connectors มีใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ บรรจุภัณฑ์ โรงไฟฟ้า เครื่องจักรงานก่อสร้าง รถขนส่ง เครื่องจักรกลหนัก งานรับเหมาและสร้างเครื่องรวมทั้งเครื่องฉีดพลาสติก
 
ปัญหาของ Industrial Multipole Connector มีอะไรบ้าง ผู้สร้างเครื่องหลายท่านคงเคยประสบปัญหาการใช้ในงานติดตั้งเครื่องจักรและ งานเคลื่อนย้าย เนื่องมาจากการใช้ Connector คุณภาพต่ำและการที่ต้องถอดเข้าออกบ่อย ทำให้หลวม Contact ต่อกันไม่แน่น ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของเครื่องจักร รวมทั้งการเกิดสนิมเนื่องจากโครงสร้างสัมผัสน้ำหรือการเกิดความชื้น
 
Industrial Multipole Connectors ที่ดี ช่วยแก้ปัญหาได้ ควรเป็นอย่างไร โครงสร้างควรทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบผิวหรือวัสดุอย่างอื่นที่ไม่เกิดสนิม ตัว contact ควรทนกระแสสูงกว่าการใช้งาน ระบบล็อคพร้อมสกรูขันที่ทนต่อการต้องถอดเข้าออกบ่อย เช่น สามารถถอดเข้าออกได้ไม่ต่ำกว่า 500 ครั้ง  ควรมีกลไกการล็อคที่ดี มีการซ่อมบำรุงต่ำ มีแรงยึดสูงเพื่อแก้ปัญหาการหลวม วัสดุสามารถใช้ภายนอกอาคารได้ ทนต่อกรดเกลือและแสง UV ได้ดี ควรทำจากพลาสติคที่ไม่ติดไฟหรือสามารถเลือกเป็นเหล็กกล้าหรือสแตนเลสได้ยิ่งดี
 
จะเลือกใช้งานอย่างไร เมื่อต้องการเลือกใช้งาน Industrial Multipole Connector เราควรรู้ลักษณะงานเบื้องต้น เพื่อจะได้สรุปจำนวน Pole ที่จะใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมทีเดียวไม่ต้องเสียเวลาในการการติดตั้งเพิ่ม ในการเลือกใช้งานมีรายละเอียดที่สำคัญต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ จำนวนขั้วต่อ (Pole) ส่วนใหญ่จะเป็นเลขคู่บวก เช่น 6 10 16 และ 24 เป็นต้น และบวกด้วย Ground กรณีรุ่นที่ถูกออกแบบให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ในตัวเดียวกันจะระบุเป็น 4/8 6/12 และ 8/24 เป็นต้น ขนาดแรงดันไฟ ขนาดแรงดันไฟ เช่น แรงดันสำหรับ Power จะมีหลายขนาดทั้ง 230V, 400V และ 690V และสำหรับ Control มีตั้งแต่ 230V, 250V และ 400V กระแสใช้งาน กระแสใช้งาน เช่น contact สำหรับ Power 40A หรือ 80A และ Contact สำหรับ Control 10A ขนาดของสายที่ใช้มี Range ขนาดของสายที่ใช้มี Range เช่น สำหรับ Power 0.14-16 mm² และสำหรับ Control 0.14-2.5 mm² การเข้าสายมีหลายแบบ การเข้าสายมีหลายแบบ เช่น Screw Connection, Spring clamp Connection, Crimp Connection หรือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Push-In การเข้าสายง่าย ใช้เวลาน้อยและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้ Tool ซึ่งมี Spring Contact แบบพิเศษ รับประกันคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ ให้การยึดแน่น ทนต่อการสั่นสะเทือน  ถ้าหน้างานใช้กระแสต่ำ และจำนวน Pole ไม่เยอะต้องเลือกอย่างไร เราควรเลือกรุ่นขนาดเล็กแต่มีความแข็งแรงที่มีขนาด 3 ถึง 12 poles กระแสไม่เกิน 16A ซึ่งสามารถใช้ในงานเครื่องจักรอาคาร การควบคุมสวิทช์เกียร์ มอเตอร์ขนาดเล็ก ระบบแสงสว่าง ซึ่งโครงสร้างจะทำจากซิงค์หล่อหรือโพลียามาย ที่ทนทานต่อการใช้งาน
 
การเลือกใช้ Industrial Multipole Connector ที่ดีคุ้มค่าอย่างไร บางครั้งเครื่องจักรทำงานไม่สมบูรณ์ทั้งที่ได้ตรวจสอบวงจรการทำงานถูกต้องแล้วแต่ก็ยังหาจุดปัญหาไม่เจอทำให้เสียเวลา ซึ่งบางครั้งสาเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากการเลือกใช้ Connector ที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้นแล้วการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีจะมีส่วนช่วยลด Downtime ของเครื่องจักรได้
 
Connectors เลือกใช้อย่างไรดี?? การเลือกใช้ขั้วต่อไฟฟ้า-คอนเนคเตอร์เหลี่ยม คอนเนคเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?? คอนเนคเตอร์ที่ดีต้องมีหน้าสัมผัสแท้จริงระหว่างโลหะเป็นจำนวนมากพอเพื่อที่จะทนต่อการรับกระแสสูงสุด ซึ่งอาจจะเกิดได้ในระบบ และจะต้องไม่ทำให้คอนเนคเตอร์เองเสียสภาพหรือด้อยคุณภาพไปก่อนที่จะหมดอายุการใช้งาน ซึ่งนอกจากจะต้องมีพื้นที่หน้าสัมผัสที่พอเพียงแล้วยังจะต้องป้องกันไม่ให้ออกไซด์กินลึกเข้าไปในจุดสัมผัสซึ่งจะไปลดพื้นที่สัมผัสที่แท้จริงได้ ในการต่อเชื่อมสายนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำให้ความต้านทานของจุดต่อเชื่อมสายมีค่าน้อยที่สุด คือจะต้องทำให้พื้นที่หน้าสัมผัสสะอาดและเพิ่มขึ้นมากที่สุด
 
การเลือกคอนเนคเตอร์เหลี่ยมเพื่อนำไปใช้งานนั้นควรพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้ คือ จำนวนขั้วต่อ (Pole): ควรทราบลักษณะงานว่าต้องใช้จำนวนขั้วต่อเท่าไร ในกรณีที่เป็น Multipole connector (คอนเนคเตอร์เหลี่ยม) รุ่นที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ในตัวเดียวกันจะระบุเป็น 4/8  6/12 และ 8/24 เป็นต้น ขนาดแรงดันไฟและกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน: จะใช้กับแรงดันไฟฟ้าเท่าไรซึ่งมีให้เลือกมากมาย เช่น หากเป็น Multipole connector จะมีแรงดัน สำหรับ Powerให้เลือกไม่ว่าจะเป็น 230V, 400V, 690V และสำหรับ Control  230V, 250V, 400V กระแสใช้งาน หากเป็นหน้าสัมผัส contact สำหรับ Power ก็จะมีให้เลือกเช่น 40A หรือ 80A และ Contact สำหรับ Control ก็จะเป็น 10A เป็นต้น
 
ขนาดของสาย: ขนาดของสายที่ใช้มีให้เลือกมากมายหลากหลาย เช่น สำหรับ Power ก็จะมีขนาดตั้งแต่ 0.14-16 mm² และสำหรับ Control 0.14-2.5 mm² โดยขนาดของสายไฟที่เลือกต้องสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้าที่ใช้จริง เนื่องจากขนาดของสายไฟแต่ละขนาดนั้นจะมีพิกัดการทนต่อกระแสไฟฟ้าที่ต่างกัน หากเราเลือกใช้ผิดอาจทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ ในการหาขนาดของสายไฟว่าเราควรจะใช้ขนาดที่เท่าไร อันดับแรกให้ดูว่าอุปกรณ์ที่เราจะนำไปใช้งานด้วยนั้นมีค่ากระแสไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไร เมื่อเรารู้ค่าแล้วให้เผื่อค่ากระแสไฟฟ้าจากที่ใช้จริง โดยปกติจะเผื่ออยู่ที่ประมาณ 25% เมื่อได้ค่าแล้วให้นำมาเทียบกับตารางหาขนาดสายไฟ ในบางครั้งการบอกขนาดอาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตารางมิลลิเมตรเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันหน่วยที่นิยมใช้กันแพร่หลายคือ AWG (American wire gauge) เป็นหน่วยวัดขนาดของลวดตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ในอเมริกา วัสดุที่ใช้ทำหน้าสัมผัส: ขั้วต่อทางไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น วัสดุที่นำมาใช้ควรเป็นวัสดุที่มีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้อย่างดี ทนต่อความร้อนและการสึกหรอได้ดี แข็งแรง ทนทาน วัสดุที่นำมาใช้ เช่น ทองแดง โดยทองแดงจะมีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี ส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้กับงานที่มีแรงดันสูง เงิน ก็เป็นวัสดุอีกหนึ่งอย่างที่นิยมนำมาใช้งาน  รูปแบบการเข้าสาย: มีหลายแบบ เช่น Screw Connection, Spring clamp Connection, Crimp Connection หรือ การใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Push-In เป็นการเข้าสายแบบง่าย ใช้เวลาน้อยและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดใด เพิ่มเติม ซึ่งมี  Spring Contact แบบพิเศษ ให้การยึดที่แน่นหนา ทนต่อการสั่นสะเทือน
 
ระบบการจ่ายไฟฟ้า: ในการเลือกเพาเวอร์ปลั๊กเราควรทราบถึงระบบการจ่ายไฟที่จะนำไปใช้งานด้วยว่าเป็นแบบใด ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายเพื่อความสะดวกในการใช้งานมีทั้ง 1 เฟส, 3 เฟส เป็นแบบ 2P+N, 3P+N 4P+N เป็นต้น  ลักษณะการติดตั้ง: ให้พิจารณาจากบริเวณพื้นที่ที่ต้องการนำไปใช้งานว่าต้องการแบบติดผนัง ติดหน้าตู้ หรือแบบติดลอย และจะนำไปใช้งานในอาคารหรือนอกอาคาร ซึ่งหากนำไปใช้นอกอาคารควรเลือกคอนเนคเตอร์ที่ทำจากวัสดุคุณภาพดี สามารถกันน้ำกันฝุ่นได้ดีโดยปัจจุบันได้มีการออกแบบให้สามารถรองรับ IP68 ได้ และสามารถทนต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี
 
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้คอนเนคเตอร์เพื่อนำมาใช้งานในระบบของคุณนั้นจะต้องมีข้อพิจารณาอยู่หลายประการเพื่อให้เหมาะสมกับงานหรือระบบของคุณให้มากที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ คือการประมาณจุดคุ้มทุน หรือด้านเศรษฐศาสตร์ เพราะจะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกใช้คอนเนคเตอร์ประเภทใด บริเวณไหน ลักษณะและประเภทของงาน และคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ คอนเนคเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญไม่น้อย และอาจจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบของคุณ หรืออาจทำให้ความเชื่อถือของระบบของคุณลดลงเนื่องจาก สายขาดหรือหลุดได้
 
Visitors: 595,961